“สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง”

วันพุธที่ 28 กันยายน 2554

ได้มีโอกาศสัมภาษณ์อาจารย์ต้อม  หรือพี่ต้อม ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากเบสฟ้า และปิง (ม.เชียงใหม่) ที่ช่วยเหลือในการติดต่อให้

และขออภัยที่ต้องสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  เนื่องจากท่านอยู่ที่เชียงใหม่ จึงไม่ไม่สามารถไปสัมภาษณ์ด้วยตนเองได้

ผศ.ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี

  • ชื่อเล่น อาจารย์พี่ต้อม
  • เข้าศึกษาปี 2530 จบการศึกษาปี 2535
  • วิทยานิพนธ์ ศูนย์
  • ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิยาลัยเชียงใหม่
  • ความเชี่ยวชาญ
             Housing development and construction management
            Architectural design
            Anthropology of architecture and tourism
            Vernacular architecture
      อันดับแรกขออนุญาตเรียกว่าอาจารย์พี่ต้อม เพราะฉันใช้คำว่าอาจารย์ แต่ท่านแทนตนเองว่าีพี่  ก็ขอใช้คำว่าอาจารย์พี่ต้อมก็แล้วกันนะคะ

อาจารย์จบลาดกระบังรุ่นไหนคะ

พ.ศ.2530 จบ  2535 ค่ะ

แล้วทำไมถึงคิดอยากจะเข้าลาดกระบังคะ และตอนนั้นลาดกระบังเป็นยังไงบ้างคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ตอนนั้นมีอยู่ ๓ แห่ง ไปเข้าลาดกระบังดีที่สุดแล้วนะในความคิดพี่นะ

มันเป็น ๑ ใน ๓ แล้วพี่ก็ดูแล้วว่าที่นี่ธรรมดาที่สุดแล้ว  เหมาะกับพี่  ไม่เทพมาก แล้วก็….ไม่ติสส์มาก คือ ชอบความเรียบๆง่ายๆแบบนี้

คือประทับใจในความเรียบง่าย อยู่แบบธรรมดาๆใช่ไหมคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ใช่ๆพอไปอยู่แล้วรู้สึกไม่ผิดหวัง คือการเรียนการสอนค่อนข้าง classical มาก ซึ่งปัจจุบันก็ยังเหมือนเดิม ไม่คิดอะไรซับซ้อนซะเว่อ อะไรประมาณนี้ อะไรหลายๆอย่างก็เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่า

มีประวัติการทำงานยังไงบ้างคะ

เช่น  ตอนที่จบมาเริ่มทำงานเป็นสถาปนิกก่อนหรือว่ามาเป็นอาจารย์เลยเหรอคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ตอนทำงานเหรอ อาจารย์คิดว่ามันคือวิชาชีพ  สถาปนิกต้องทำงานเพื่อรักษามาตรฐานวิชาชีพของเราอ่ะนะ  คือตอนแรกเข้าไปทำงานที่ ออฟฟิต ทำงานอยู่ ๒ ปี แล้วไปเรียนต่อปีกว่า

บริษัทแรก ไอที อินเตอเนชั่นแนล ของ อาจารย์ อเสอ่ะค่ะ

ทำอยู่ปีเศษ ตอนทำนี่ก็เรียนแล้วแหละ  เรียนไปด้วยสอบ TOFEL ไปด้วย

แล้วอาจารย์เรียนต่ออะไรคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  พี่ก็เรียนที่ USA  – Master of Real Estate and Construction Management ( Real Estate and Construction Management)  , University of Denver

แล้วก็ต่อ  Doctor of Philosophy (Architecture)  , Oxford Brookes University , United Kingdom

แล้วทำไมถึงไปเป็นอาจารย์ที่มหาลัยเชียงใหม่คะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ก็ทำงานอยู่ ๕ – ๖ ปี ..พอดีแต่งงาน แฟนพี่บ้านอยู่ที่เชียงใหม่  เลยย้ายไปอยู่เชียงใหม่

ก็เลยลองสมัครเข้าไปเป็นอาจารย์

แล้วตอนนี้ยังทำงานเกี่ยวกับสถาปัตย์อยู่หรือป่าวคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ยังทำอยู่ค่ะ ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่  ก็ยังทำอยู่เรื่อยๆ

ตอนนี้ก็ยังทำอยู่ ๒ โปรเจค

แล้วผลงานที่มีอยู่ตอนนี้ที่มีอยู่คือผลงานอะไรคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ตัวที่กำลังสร้างอยู่ก็ …..

  1. ตัวอาคารนิทรรศการหลังใหม่ของงานพืชสวนโลก ตรงนั้น ๙๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว
  2. ก็อีกผลงานหนึ่งที่กำลังออกแบบอยู่  เป็นคลับเฮาส์ของหมู่บ้าน ล้านนา เฮอริเทจ

แล้วตอนทำงานคิดว่ามีปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน  การจัดการ  และการทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้างไหม

อาจารย์พี่ต้อม :  อืม……ไม่ค่อยดีอะนะ พี่ไม่ค่อยดีเลย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทั่วๆไป ทุกคนทุกที่ก็จะมีปัญหาการเมือง เรื่องโน่น เรื่องนี่  ตลอดแหละ เราก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ ปรับตัวและอดทนให้ได้

อาจารย์สบายดีไหมคะ

อาจารย์พี่ต้อม :  ตอนนี้ก็สบายดี ทำงานเป็น อาจารย์ก็มุ่งทางวิชาการค่อนข้างเยอะ และวิชาชีพ แหละ ก็ไม่ค่อยปฏิเสธ งานของเราก็คือสร้างคนเนอะ แล้วงานก็ยุ่งเป็นอาชีพ(ฮ่าๆๆๆ) ไม่ว่างเลยตั้งแต่เรียนแล้ว

อาจารย์กลับมาลาดกระบังบ้างไหม

อาจารย์พี่ต้อม :  อืมมมม…..ก็นานแล้วที่ไม่ได้ไป   ก็คิดถึงนะ  แต่เดี๋ยวนี้ลาดกระบังก็เปลี่ยนไปมากเนอะ…..

แต่การที่จบลาดกระบังก็ยังมีบุคลิกอะไรบางอย่างที่เป็นของเราติดตัวเรามาโดยตลอดนะรักษาความเป็นลาดกระบังที่มีอยู่ในตัวและใช้มันให้ดีก็แล้วกันค่ะ

อันแรก เป็น แผนแม่บทและอาคารนิทรรศการในพืชสวนโลก

 

 

 

 

 

 

 

อันที่สอง เป็น คลับเฮาส์ค่ะ

วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
สถานที่ : จังหวัดสระบุรี

การเดินทางครั้งนี้ มีจุดหมายอยู่ที่หมู่บ้านบ้านชาวไทยวน และบ้านเขาแก้วขอท่านอาจารย์.ทรงชัย ซึ่งเป็นผู้กรุณาให้ข้อมูลและความรู้ต่างๆที่เราไม่เคยรู้ให้กับพวกเรา

 

บ้านหลังนี้มีชื่อว่าบ้านเขาแก้วออกแบบมาโดยใช้แนวความคิดของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาใช้เป็นองค์ประกอบของอาคาร  และออกแบบบ้านให้มีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแดง ลม ฝน ซึ่งท่านอาจารย์ทรงชัยเล่าว่ากว่าจะมาเป็นบ้านหลังนี้บางเรือนก็มีการรื้อถอนออกไปเพราะอาคารบางหลังบังลม ที่พัดเข้ามาสู่ตัวเรือนใหญ่

                                                                            

ในด้านพื้นที่สวนในบ้านหลังนี้มีความน่าสนใจมากเคือมีลานดินมีการปลูกต้นไม้โบราณ ไม้หอมและ พืชสมุนไพรไว้ตามส่วนต่างๆของบ้าน นอกจากนี้ยังมีทางเดินไม้ที่พาดผ่านสวนเชื่อมออกไประหว่างเรือนและยังมีลานดิน กว้างที่สามารถรองรับพวกเราเกือบ80คนที่มานั่งฟังท่านอาจารย์ทรงชัยและท่านอาจารย์จิ๋วให้ความรู้

 

บริเวณหลังบ้านมีการขุดบ่อน้ำซึ่งทำให้บ้านเย็นเพราะลมจะพัดความเย็นจากผิวน้ำเข้ามาในตัวบ้าน มีเรือนที่มี่ลักษณะแบบเรือนแพซึ่งน่าพักผ่อนมากค่ะ

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน

แค่เราเดินมาตรงข้ามบ้านเขาแก้ว เราก็มาถึงหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนแล้ว ซึ่งที่นี่มีการรวบรวมประวัติความเป็นมา และวัฒนธรรมต่างๆของชาวไทยวน รูปแบบของตัวสถาปัตยกรรมไทยวน และเรายังได้ดูการแสดงรำที่สวยงามและน่าสนใจมาก

และแล้ววันที่เรารอคอยก็มาถึง……กับ “ทริปในตำนาน”

วันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดอุทัยธานี

จุดมุ่งหมายแรกที่จังหวัดอุทัยธานี ยังคงเมืองเก่าอยู่พอสมควร ซึ่งเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรมที่ยังคงใช้วัสดุธรรมชาติ มีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านเมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ และประชาชนละแวกนั้นได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน การคมนาคม รวมไปถึงการสร้างที่อยู่อาศัยตามลำน้ำด้วย

วันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดลำปาง

วัดศรีรองเมือง วัดนี้ได้รับอิทธิพลในงานสถาปัตยกรรมมาจากพม่า เนื่องจากในสมัยก่อนชาวพม่าได้มาสร้างเอาไว้ โดยรูปแบบที่เห็นได้ชัดเจน คือ รูปแบบของหลังคา ที่มีการซ้อนชั้นให้ดูยิ่งใหญ่และโดดเด่น

เมื่อเข้าไปสู่ภายใน จะเห็นได้ถึงการประดับตกแต่งที่สวยงาม ทั้งการใช้กระจกสี และการทาสี ซึ่งจะเน้นเป็นสีแดง

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา โดยมีการใช้โครงสร้างที่เรียกว่า “ ม้าต่างไหม ” การไม่สร้างเสาสูงไปถึงชั้นหลังคาแต่จะต่อไม้ออกไปรับแทน ลักษณะของหลังคาจะมีการลดหลั่นกันสามชั้น ซึ่งทำให้เกิดความสวยงาม ส่วนหน้าประตูทางเข้าจะมีสิงห์นั่งอยู่ ๒ ตัว การหันของสิงห์ รับกับมุมมองของทางเข้าทำให้เกิดเป็นเสมือน PERSPECTIVE  4 จุด ทำให้รู้สึกว่าด้านหน้ากว้างขึ้น

วัดข่วงกอม

เป็นวัดที่ มีการประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลักและดูไม่อึดอัด ส่วนบริเวณรอบวัดก็เป็นลานทราย และมีระเบียงคตโดนรอบและชุมชนละแวกนั้นที่มีการประกอบอาชีพทำนา และมีการใช้ลำเหมือง ซึ่งเป็นการจัดการทางน้ำเพื่อการเกษตร

วันที่ ๑๗ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดลำปาง

วัดปงสนุก

ตั้งอยู่บนเนินสูงมีบันไดทางขึ้นนำสายตาไปยังซุ้มประตูทางเข้า เป็นบันไดพญานาคสีขาวรับกับซุ้มประตูทำให้ตัวเจดีย์ดูโดดเด่นมาก ด้านบนจะมีลานทรายและมีวิหารไม้ที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้า หันไปทาง ๔ ทิศ เรียกว่า “วิหารพระเจ้าพันองค์”

วัดไหล่หิน

จุดเด่นที่วัดนี้อยู่ตรงที่มีการเล่นการผลักระดับสายตา โดยเริ่มจากตัวสิงห์ที่อยู่ด้านหน้าที่อยู่ห่างออกมาจากวัด ทำให้วัดดูมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าความเป็นจริง และด้านหลังจะมีต้นไม้ใหญ่เป็น SCEEN ทำให้วัดดูโดดเด่น

 วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมานาน รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านนารูปแบบทางเข้าซุ้มประตู เป็นซุ้มพญานาค ทางเข้าจะเหมือนขึ้นไปยังเนินเขา สู่ประตูขนาดใหญ่ พอเข้าไปยังภายในวัดก็จะพบลานโล่งกว้าง ที่เชื่อมต่อระหว่างวิหารหลัก กับระเบียงคตโดยรอบ ส่วนวิหาร และเจดีย์ขนาดใหญ่ก็งดงามไปด้วยการประดับด้วยสิ่งแกะสลักที่สวยงาม

วันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

เป็นพิพิธพันธ์ที่มีการรวบรวมเรือนไทยล้านนาเอาไว้ หลากหลายรูปแบบ รวบรวมเอาไว้เพื่ออนุรักษ์และเพื่อเป็นแหล่งศึกษา  โดยเรือนจะประกอบไปด้วยโถงมีบริเวณอเนกประสงค์ และไม่มีการแยกห้อง และจะกั้นส่วนที่ไม่ใช่เรือนนอนด้วยระเบียงเตี้ยๆ โครงสร้างจะเป็นโครงสร้างไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินขอ ฝาเรือนมักแบะออก และใช้เป็นฝาขัดแตะ หรือ ฝาไหล มีการยกใต้ถุนสูงเพื่อไว้ใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ

โรงแรมราชมรรคา

มรรคา ออกแบบโดยอาจารย์องอาจ สาสตร์พันธุ์ โออกแบบSPACEปิดล้อมคอร์ดแบบจีน และการนำวัสดุ สี แบบของอาคารสมัยเก่าของทางภาคเหนือมาใช้เช่นใช้หลังคาสีส้มอิฐ โดยสร้างลักษณะของอาคารออกมาให้ได้รูปแบบวัดแบบล้านนา และมีการเล่นเรื่องสัดส่วนของวัดออกมาอย่างใช้สัดส่วนที่สวยงาม และเหมาะสม

วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดเชียงใหม่

วัดต้นเกว๋น

สมัยก่อนพื้นที่ใกล้บริเวณที่ตั้งของวัดนี้ แ มีต้นมะเกว๋นขึ้นอยู่มาก วัดนี้จึงถูกเรียกตามชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ เรียกว่า “วัดต้นมะเกว๋น” ลักษณะของวิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ในส่วนของวิหารจตุรมุขใช้โครงสร้างทำด้วยไม้สักทอง  ภายในวัดนี้จะประกอบไปด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง มณฑปจตุรมุข ศาลารอบพระวิหาร มีลานทรายตามคติความเชื่อชาวพุทธ เชื่อว่าวัดต้นเกว๋นเป็นวัดที่มีความสวย และได้สัดส่วนที่สุดในสถาปัตยกรมล้านนาแล้ว

 

วันที่ ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดเชียงใหม่

วันนี้เรามาจากจากเชียงใหม่สุโขทัย แต่แวะจังหวัดลำปางอีก นั่นคือ บ้านเสานัก  หมายถึง บ้านที่มีเสาจำนวนมาก มีถึงเสามากถึง ๑๑๖ ต้น ซึ่งเป็นอนุรักษ์สถานเกี่ยวกับที่พักอาศัย เป็นเรือนไม้มีอายุมากกว่า 100 ปี ภายในเรือนมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยนั้นเอาไว้เป็นจำนวนมาก

วันที่ ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ไปดู สรีดภงษ์  ซึ่งเป็นเหมือนเขื่อนกั้นน้ำในสมัยนั้น แสดงให้เห็นถึงความฉลาด และเทคโนโลยีในสมัยนั้นที่ทำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้

วัดมหาธาตุ

เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวของชาวเมืองพุทธ สถาปัตยกรรมเป็นแบบสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งเห็นได้จากปลายยอดของเจดีย์ที่เป็นแบบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ส่วนวัสดุที่ใช้ส่วนมากเป็นศิลาแลงที่บางส่วนก็เริ่มเสื่อมสลายตามกาลเวลา การจัดพื้นที่โดยรอบจะมีบ่อน้ำเป็นส่วนใหญ่และจะสังเกตเห็นถึงการสะท้อนเงาของอาคารในน้ำ

วันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดสุโขทัย

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร 

วัดนี้มีจุดเด่นที่มีพระปรางค์เก่าขนาดใหญ่ที่งดงาม และสามารถขึ้นไปยังด้านบนได้ด้วย ส่วนด้านหน้าก็จะมีวิหารที่เหลืออยู่แต่เสา และมีพระพุทธขนาดใหญ่รูปประดิษฐานอยู่

วันที่ ๒๓ กรกฏาคม ๒๕๕๔ 
สถานที่ : จังหวัดพิษณุโลก

วัดราชบูรณะ

วัดนี้สวยงามแบบสถาปัตยกรรมภาคกลางมีลายรดน้ำ ปิดทองภายในวิหารยังคงสภาพสวยงาม และแสดงให้เห็นถึงศิลปะแบบจีนผสมอยู่ด้วย ส่วนองค์เจดีย์ก็ใช้อิฐมอญในการก่อ มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีความสวยงามมาก

และแล้วก็ถึงวันที่เฝ้ารอคอยด้วยความระทึกใจ คือ วันที่จะได้ไปทริปกับอาจารย์จิ๋วเพราะก่อนหน้านี้  มีแนวโน้มสูงมากที่ไม่ได้ไป  แต่อาจารย์ทุกท่านก็ได้พยายยามทำจนสำเร็จ เพื่อที่จะมอบความรู้ ประสบการณ์จริงให้แก้นักศึกษาทุกคน

เตรียมตัวมาอย่างดี  เสื้อผ้าพับใส่กระเป๋า พร้อมกล้อง สมุดสเกตและรองเท้าหมีสีส้ม พร้อมลุย !!!!!

ก่อนไปทริปใหญ่  มีการชิมลางกันก่อน โดยไปกันที่ บ้านเขาแก้วและอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน ที่จังหวัดสระบุรี

บ้านเขาแก้ว

เป็นบ้านทรงไทยแบบเดิม ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ของอาจารย์ ทรงชัย บรรยากาศของบริเวณเป็นแบบชาวบ้านดั่งเดิม มีการปลูกไม้ยืนต้น และพืชผักสวนครัวรวมถึงการเลี้ยงสัตว์ไว้ภายในบริเวณบ้าน ส่วนด้านหลังของบ้านจะมีบ่อน้ำ ซึ่งบ่อน้ำที่อยู่รอบๆอาคารหลังต่างๆจะช่วยให้บริเวณอาคารต่างๆรู้สึกเย็นสบาย

 

 

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน 

ตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามบ้านเขาแก้ว ลักษณะเป็นอาคารไม้ ภายในบริเวณบ้าน มีการจัดลานไว้สำหรับรวมกลุ่ม แสดงศิลปะพื้นบ้านไทยยวน ทำกิจกรรมต่างๆ และมีการจัดเวทีลดหลั่งไปตามระดับ เพื่อให้มีลูกเล่นในการแสดง ด้านหลังมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามน่าประทับใจมาก

เข้าสู่วันแรกของทริป   ใหญ่    กันเลย………

วันที่ 1  ( เสาร์ ที่ 15  กรกฎาคม 2554)

เรือนแพ

ชาวบ้านอยู่ร่วมกับธรรมชาติ  ใช้ชีวิตบนน้ำโดยเริ่มแรกใช้ในการคมนาคมทางน้ำกันมาก เกิดจากการค้าขายริมน้ำ  ตลาดน้ำ และบ้านเรือน เป็นวิถีชีวิตที่เป็นไปตามธรรมชาติ อาศัยร่วมกับธรรมชาติทั้งบนบกและในน้ำ  บ้านจะสร้างบนแพใช้ไม้ไผ่ ที่มัดเป็นกอใหญ่ๆ เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักของบ้านและทำให้ลอยน้ำได้ การยึดติดของบ้านใช้น้ำและเนินดินบนตลิ่งในการช่วยพยุงให้ไมไหลไป มีคุณยายท่านหนึ่งบอกว่า ในหน้าน้ำมากจะต้องเลื่อนบ้านให้ไปใกล้ตลิ่งแล้วผูกกับต้นไม้ไว้แต่ถ้าช่วงน้ำลดจะใช้การติดตลิ่งบนเนินดินก็ได้   ไม้ไผ่ที่ใช้เหล่านี้ก็จะมีการเน่าเปื่อยตามกาลเวลา จึงต้องมีการเปลี่ยนเรื่อยๆ โดยการใช้กระแสน้ำ  คือ ฐานไม้ไผ่ด้านล่างนี้สามารถถอดออกไดเพียงการปลดเชือกที่ผูกออก กแล้วำไม้ไผ่ที่มัดใหม่แล้วปล่อยมาจากต้นน้ำแล้วให้ไหลเข้าในบริเวณที่ต้องการ นอกจากนี้กอไผ่นี้ยังใช้ในการปลูกต้นใบเตยโดยการอาศัยความผุของไม้ในการเลี้ยงดู  เป็นการแใช้ภูมิปัญญาที่เกิดจากการดำรงชิวิตของคนพื้นถิ่น

 

 วันที่ 2  ( อาทิตย์ ที่ 16   กรกฎาคม 2554)

วัดศรีรองเมือง

เมื่อมองเข้ามาผ่านซุ้มประตูจะเห็นหลังคาที่ซ้อนกันหลายชั้นขึ้นไปตามช่วงของบันได โครงสร้างหลังคาอาคารจะเป็นสองชั้น ด้านล่างก่ออิฐฉาบปูน  มีลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า เป็นโครงสร้างไม้ทาสีแดง ประดับลวดลายสีทองงดงามตระกานตา รอบๆมีต้นไม้หลากหลายชนิด ล้อมรอบวัดไว้ และยังมีเจดีย์โบราณและโบสถ์เล็กๆอยู่ด้านข้างพื้นทีนโดยรอบค่อนข้างกว่า นอกจากเป็นการปลูกต้นไม้ทั่วไปแล้ว ยังเป็นพืชที่กินได้และใช้เลี้ยงสัตว์ด้วย

วัดพระแก้วดอนเต้า  อ.เมือง  จ.ลำปาง

ลำปางจะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของพม่า แต่วัดพระแก้วดอนเต้าจะเป็นลักษณะของล้านนา  ที่จะมีเจดีย์เป็นประธาน  โบสถ์เล็กๆไม่ได้ทำหน้าที่ประธาน  ศาลาการเปรียญเป็นอาคารทรงตึก  หลังคาทรงลำยอง  ซุ้มลายใบเสมาแบบพม่า  ซ้อนชั้นฉัตรแบบล้านนา  เน้นด้านหน้าด้วยการลดชั้น  โชว์โครงสร้างไม้ หลังคาปีกนกมี 2 ตับ  3 ตับ  จะเป็นแบบพิเศษ  ปั้นลมจะปิดอย่างเดียว แต่แบบล้านนาจะมีการก่อปูนปิดหัวให้เรียบร้อย บางแห่งจะมีเสาเป็นโถงมุก การซ้อนชั้นของหลังคาจะขยายออก  ที่จะสัมพันธ์กับความสูง

วันที่ 3  ( จันทร์ ที่ 17   กรกฎาคม 2554)

วัดปงสนุก

 

 

 

 

 

 

 

 

      เป็นวัดที่ได้รับรางวัล  ASIAN  PACIFIC AWARD  เป็นอาคารรูปแบบล้านนามีความงามแบบพอดี  ธรรมดาไม่ได้หวือหวา  มีการบูรณะจนต้องมีปูนมาฉาบหลังคาและเปลี่ยนลานทรายด้านหน้าออก  ซึ่งลานดินนั้นเพื่อหลายสาเหตุ  คือ ลานทรายทำให้หญ้าต้นไม้ต่างๆ ไม่สามารถงอกขึ้นได้  เพราะเนื่องจากกฎของพระสงค์ที่ห้ามพรากของเขียว  (ต้นไม้ ใบหญ้า ) และป้องกันสัตว์เลื้อยคลาเข้ามาในอาคารด้วย การวางผังที่จะไม่เข้าเส้นแกนเป็นแนวตรง  แต่จะมีการเยื้องออกไปด้านข้าง คือลักษณะการวางผังจะไม่สมมาตรกันต่างจากวัดทั่วไปที่เน้นแนวแกนเป็นสำคัญ  และใช้มณฑปเป็นศูนย์กลาง แต่เดิมวิหารของวัดปงสนุก เป็นลักษณะแบบลำปาง  ซึ่งจะมีความใหญ่  เล่นปริมาตรของบัวที่ตกแต่ง เป็นสามมิติ  เล่นเส้นลวดบัวกับช่องว่างทำให้กำแพงมีน้ำหนัก  และตัวประตู ลักษณะของวิหารเป็นวิหารเล็กๆ  มีซุ้มประตูสี่ทิศซึ่งแต่ละทิศไม่เหมือนกัน และมีโครงสร้างหลังคาที่แปลก ซับซ้อน และน่าสนใจ ส่วนมณฑปเป็นแบบล้านนา  เชิงชายห้อยด้วยระฆังที่เป็นลักษณะเฉพาะ ( เรียกว่าสถาปัตยกรรมมีเสียง) ในรูป แสดงลวดลายเส้นปูนปั้นตัดกับพื้นกำแพงชัดเจน  และปูนปั้นพญานาคเล่นเส้นไปสู่ตัวกำแพง

 วัดไหล่หิน

        ลักษณะอาคารเป็นอาคารหลังเล็กๆ กระจายตามจุดต่างๆซึ่งการทิ้งระยะห่างของอาคาร เพื่อปลูกต้นไม้และรับแสงเข้าสู่อาคาร  อีกทั้งตัววิหารมอแล้วเหมือนใหญ่มากแต่พอเข้าไปกลับดูเล็ก เนื่องจากการสร้างรูปแบอาคาร และการสร้างมุมมองเพื่อให้สดุดตาและประทับใจเมื่อแรกพบ แต่ละอาคารใช้การแบ่งพื้นที่ด้วยลานทรายที่ต่างระดับกัน และกำแพงที่มีแมกไม้ปกคลุม  ที่แทรกอยู่ตามแมกไม้ส่วนใหญ่เป็นต้นโพธิ์ ที่เป็นพื้นที่ให้ร่มเงา  นั่งเล่น  และเป็นพื้นที่รวมกลุ่มเพื่อกิจกรรมต่างๆ มีลานทรายโดยรอบ เดิมเป็นอาคารเก็บคัมภีร์โบราณ  มีลักษณะโครงสร้างแบบวัดปงสนุก ข้างหลังปลูกต้นโพธิ์ จะเห็นได้ว่าพื้นที่จะมีต้นโพธิ์จำนวนมาก ซึ่งต้นโพธิ์แทนศาสนา และใช้ไม้เพื่อค้ำต้นโพธิ์ไว้เสมือนการค้ำจุนศาสนา วิหารเป็นลักษณะวิหารโบราณที่ใช้ปูนโบราณ  ซึ่งจะไม่ค่อยเรียบร้อยนักที่เกิดอีกมิติ ทางสถาปัตยกรรมแบบโบราณที่มีคุณค่าและน่าสนใจ  ส่วนโครงสร้างอาคารเป็นแบบโครงสร้างล้านนาแต่ มีการตัดขื่อออกเพื่อไม่ให้บังพระประธาน   สามารถเอานาคสดุ้งมาวางบนหัวแปได้ ซึ่งปกติทำไม่ได้ ส่วนกระเบื้องแบ่งเป็นตัวผุ้ตัวเมียที่ซ้อนเหลื่อมกันสามารถถอดเปลี่ยนออกได้ รูปขื่อตุ้มรับน้ำหนักเพิ่มแล้วยังใช้ในการรับแปเนื่องจากการลดระดับหลังคา

 

 วัดพระธาตุลำปางหลวง  จังหวัดเชียงใหม่

       ชุมชนพื้นเมืองในเขตล้านนา  มีอยู่สองกลุ่ม  คือ  กลุ่มเผ่าไทย และพวกลัวะ กลุ่มเผ่าไทยอาศัยอยู่ที่ราบ  ส่วนชาวลัวะอยู่บนที่สูงอยู่กับระบบนิเวศ ทำการเพาะปลูกเช่นเดียวกัน  แต่ชาวลัวะปลูกข้าว พืชไรบนที่สูง ตามแนวเขาและปลุกบ้านล้อมนาไว้ อาคารจึงมีลักษณะวางอยู่บนเนินสูง Space ด้านหน้าทึบ  ข้างในโปร่ง เชื่อมต่อกับส่วนต่างๆ ลาน  ช่องเสา  ค้ำยัน  โครงสร้าง วิหารมี 3 วิหาร   1.วิหารหลวง  2.วิหารต้นแก้ว  3.น้ำแต้ม ส่วนวิหารคดจะไม่ฉาบปูน ..รูป..ด้านบนโปร่งด้านล่างทึบ  กำแพงทึบ+หลังทึบเตี้ย

วันที่ 4  ( อังคาร ที่ 18 กรกฎาคม 2554)

โรงแรมราชมรรคารา

รูปแบบของโรงแรมมาจากรูปแบบของวัดทางภาคเหนือ โดยการนำรูปลักษณ์ของวัดมาประยุกต์กับรูปแบบบโมเดิร์นมาประยุกต์ใช้กับฟังก์ชั่นโรงแรม ได้อย่างลงตัวและสวยงาม ด้านหน้าเป็นลานหิน  ที่ใช้เป็นลานจอดรถที่กลืนไปกับพื้นที่โดยรอบด้าน ที่เป็นต้นไม้  ใช้ผนังอาคารสีขาว  ตัดด้วยสีน้ำตาล Space ของอาคารแบบวัดนอกจาดลานทรายแล้วยังมีคอร์ดกลางที่ เป็นเอกลักษณ์สำคัญด้วย  ซึ่งใช้เป็นส่วน สาธารณะ แต่อาคารนี้เป็นโรงแรมจึงต้องใช้คอร์ดเพื่อแบ่งพื้นที่ห้องพักแต่ละชุด  นอกจากจะได้ความเป็นส่วนตัวของแต่ละพื้นที่แล้วยังเป็นการเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นของแต่ห้องด้วยเพราะที่ตั้งของโรงแรมค่อนข้างแคบและไม่มีวิวทิวทัศน์อะไร และการแบ่งพื้นที่นั้นก็ได้นำรูปแบบของ  vertical   garden   มาเป็นกำแพงกั้นระหว่างแต่ละพื้นที่  เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและยังสามารถเพิ่มความสวยงาม  มองแล้วสบายตาอีกด้วย โรงแรมยูเชียงใหม่ เป็นอาคารที่ขอเข้าไปแค่ 4-5 คน พร้อมกับอาจารย์เจ็ง เนื่องจากตามเพื่อนไม่ทันและตกรถ ด้วยการขอแบบไม่เป็นทางการทางโรงแรมจึงห้ามถ่ายรูป โรงแรมยูเชียงใหม่เป็นโรงแรมที่ใช้อาคารเก่า ที่เป็นบ้านไม้เก่า มาปรับปรุงให้เป็นโรงแรม  ซึ่งยังคงสภาพของอาคารเดิมเอไว้ทั้งหมด  แต่สามารถออกแบบพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องลงตัวอย่างมาก เข้ามาในส่วนแรกเป็นอาคารเก่าที่ใช้เป็นโถงต้อนรับบรรยากาศเย็นๆ วัสดุไม้สีเข้ม มีฟิตเนส ห้องสมุดด้านบน  และโถงก็เชื่อมต่อแบบกึ่ง out door  ไปที่สระว่ายน้ำและที่พักด้วยการแบ่งพื้นที่ด้วยวัสดุและต้นไม้ เปลี่ยนจากพื้นไม้ เชื่อมต่อเป็นทางเดนลานกรวดและไม้พุ่ม ไม่สูงมาก แล้วจึงยก step ขึ้นไปเป็นพื้นที่สระว่ายน้ำ และทางเดนหลบอีกนิดจากแนวแกนเป็นห้องพักที่มีสระว่ายน้ำส่วนตัว  รูปแบบของอาคารใหม่ เข้ากันอย่างดีทั้งที่วัสดุต่างกันเป็นโรงแรมที่มีความน่าสนใจมาก

4  ( อังคาร ที่ 18  กรกฎาคม 2554)

หมู่บ้านไทยลื้อ

เป็นลักษณะของเรือนล้านนนา  ในที่นี้เป็นก่รยกบ้านของชาวไทยลื้อมาตั้งไว้ในมหาวิยาลัยเชียงใหม่เพื่อใช้การศึกษา อาคารนี้มาจา ตำบลลวงเหนือ  อำเภอดอยสเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  ลักษณะเป็นเรือนไทยแท้ๆ โดยไม่มีอิทธิพลของอะไรมาบดบัง  ลักษณะของบ้านล้านนาแบ่งเป็นสี่ส่วน  คือ  นอกชาน (พะไล)  พื้นที่เอนกประสงค์(เติ๋น)  ใช้การนอนรวมกันโดยการกางมุ้ง  ด้านหน้าห้องนอนเป็นส่วนนั่งเล่น กินข้าว ทำกิจกรรมต่างๆ )  ห้องนอน  และส่วนครัว  ที่เป็นกึ่ง outdoor มีหลังคาคลุม  และใช้การลดระดับลงมาจากส่วนพื้นที่บ้านเพื่อเป็นการแบ่งแยกพื้นที่การใช้งานทีไม่ถึงกับเด็ดขาด  และมีคววามเชื่อมต่อกันอยู่ 

ด้านนอกจะมีอาคารยุ้งฉาง  ไว้สำหรับเก็บข้าวสัดสว่นอาคารค่อนข่างสูง  เพื่อกันสัตว์  และเกวียนในสมันก่อนก็มีขนาดที่สูงใหญ่ด้วย  สิ่งที่น่าสนใจคือฝาที่เป็นฝาไม้โบราณ  มีการเล่นทึบโปร่ง ในส่วนต่างๆ  เพื่อเอาแสง และทึบโปร่งตามมการใช้งาน  ใช้เพดานเป็นที่เก็บของ เรียกว่า ควั่น  เรือนไทยลื้อนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมการเป็นอยู่ของคนสมัยนั้น  ที่เเรียบง่าย  และเน้นที่ว่างที่มีความต่อเนื่องโดยไม่ต้องใช้ผนังกั้น หรือกั้นแบบทึบบ้าง โปร่งบ้าง  ตัวบ้านมีความโปร่ง โล่ง เชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมภายนอก

 วัดพันเตา (วัดพันเท่า)

เป็นพระวิหารไม้สักขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นอาคารทรงพื้นเมืองล้านนา เดิมเป็นหอคำ หรือคุ้มหลวง ของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายโดดเด่นสวยงาม และวัดได้มีประเพณี ที่ใช้กะลาจุดไฟเป็นพันๆดวง ในประเพณีนี้สวยงามเป็นอย่างมาก

วันที่ 5  ( พุธ ที่ 19   กรกฎาคม 2554)

วัดต้นเกว๋น(วัดอินทราวาส )อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

องค์ประกอบวัดประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฎิสงฆ์ หอระฆังมณฑปจัตุรมุข และศาลารอบพระวิหาร ลักษณะเป็นวิหารจัตุรมุข สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา หลังคาซ้อนสามชั้นลดหลั่งกันไป มีลวดลายเพดาน ส่วนหลังคาใช้กระเบื้องดินขอ ราวบันไดด้านหน้าเป็นปูนปั้นพญานาค บริเวณอาคารด้านหน้าเป็นลานทรายโล่ง มีฮ้านน้ำ ด้านข้างมีสนามหญ้าและล้อมด้วยกำแพงเตี้ยๆอีกชั้นหนึ่ง

หมู่บ้านแหนน้อย อำเภอสันป่าตอง

เป็นการอยู่ด้วยธรรมชาติ ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ในการสร้างบ้าน โดยการหยิบโน้น ผสมนี่ มาประกอบกันจนเกิดรูปแบบของลวดลายจากวัสดุพื้นถิ่นที่ต่างกัน จากภูมิปัญญาของชาวบ้านเอง

วันที่ 6  ( พฤหัสบดี ที่ 20  กรกฎาคม 2554)

บ้านเสานัก(หมายถึงเสามาก มีถึง 116 ต้น)

เป็นบ้านไม้ โทนสีน้ำตาลเข้มดูกลมกลืนและเข้ากับธรรมชาติโดยรอบ ด้านนอกเป็นลานปรวด เป็นเส้นนำสายตาเข้าสู่บ้าน ด้านบนเป็นไม้ ด้านล่างเป็นปูน ช่วงด้านล่างจะลดระดับลงไปใต้ดิน สามารถที่จะไปใช้งานได้ เช่นกินข้าว นั่งเล่น มีความเย็นสบาย เนื่องจากความเย็นของดิน และลมที่พัดผ่านใต้ถุน

วันที่ 7  ( ศุกร์ ที่ 21  กรกฎาคม 2554)

วัดมหาธาตุ (สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)

เป็นวัดหลวงมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ผังของวัดมีคู่น้ำล้อมรอบอยู่สามชั้น มีกลุ่มโบราณสถานอยู่ตรงกลาง แสดงถึงความสำคัญที่ชัดเจน ส่วนเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่เป็นลักษณะสืบทอดต่อๆกันมาในสุโขทัย ในพื้นที่จะสังเกตได้ว่ามีเจดีย์จำนวนมาก นั้นเป็นเพราะว่าผู้คนมีความเชื้อในเรื่องการสร้างวัดสร้างเจดีย์จะได้บุญมาก ใครมีบุญก็สร้างกันต่อมาเรื่อยๆ โดยขยายตัวออกจากศูนย์กลาง จนเต็มพื้นที่ตามที่พบเห็น

วันที่ 8  ( เสาร์ ที่ 22  กรกฎาคม 2554)

โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท อยู่ใกล้กับสนามบินสุโขทัย

อาคารใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย มาประยุกต์ใช้กับอาคารโดยที่หลังคา เป็นหลังคาแบบสุโขทัย โดยเน้นพื้นที่คอร์ทเริ่มจากทางเข้า จะเป็นหลังคาตลอดแนวทางเดิน เป็นเส้นนำสายตาเข้าสู่อาคารแล้วมุ่งเข้าสู่คอร์ทกลางที่มีต้นไม้และบ่อน้ำอย่างสวยงาม แล้วค่อยกระจายตัวออกด้านข้าง เป็นลักษณะของระเบียงล้อมรอบ ที่มีเสาอยู่เรียงราย

วัดนางพยา

เป็นวัดเจดีย์ทรงลังกา ประกอบซุ้มเรือน มีพระธาตุเป็นประธาน ก่อระเบียงด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ มีบันไดที่มองเห็นได้จากด้านนอก เป็นบันไดที่ใช้ขึ้นไปบนเจดีย์ ซึ่งค่อนข้างสูง บริเวณผนังมีช่องระบายอากาศตามแบบสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น

วันที่ 9  ( อาทิตย์ ที่ 23  กรกฎาคม 2554)

วัดมหาธาตุ(วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ)

เป็นลักษณะของช่างสุโขทัยโดยหลังคาลดหลั่งกัน 3 ชั้นเป็นปูนค่อนข้างทึบ ใช้การระบายอากาศเพิ่มด้วยการระบายอากาศจากหลังคา แต่ปัจจุบันได้ถูกปิดไปแล้วเนื่องจากน้ำฝนได้ไหลเข้ามาตามกระเบื้อง   อาคารเน้นประตูทางเข้า เปิดโล่ง เข้าไปจะเจอโถงที่ให้ความรู้สึกเลื่อมใสหน้าเคารพ เป็นพื้นที่ที่เห็นองค์พระได้ชัดเจน และเป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้มากราบไหว้ด้วย

วันสุดท้ายถึงเวลากลับมาลาดกระบัง  ด้วยความอ่อนเหนื่อยเมื่อยล้า  ที่าพร้อมกับความรู้และความสนุกสนานอย่างที่สุด

Hello world!

Posted: สิงหาคม 30, 2011 in Uncategorized

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can always preview any post or edit it before you share it to the world.